วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 5
วันจันทร์ ที่ 19  กันยายน พ.ศ.2559
เวลา 09.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                          - อาจารย์อธิบายแต่ละหัวข้อที่นักศึกษาต้องไปค้นหาข้อมูลมาจากงานวิจัย เพื่อมานำเสนอในสัปดาห์ถัดไป

                       - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา"


รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน
ข่าวสารประจำสัปดาห์
         เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน 
จดหมายข่าวและกิจกรรม
         เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ 
ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
         จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย




การสนทนา
        การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น


รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา
ห้องสมุดผู้ปกครอง    
           เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การจัดการศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและส่งผลต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ 


นิทรรศการ
         เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดี


สรุป
           รูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าว สถานศึกษาสามารถจัดให้บริการแก่ผู้ปกครอง โดยมีข้อคิดที่สำคัญคือการคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ ถึงผู้ปกครองอย่างถั่วถึง รวดเร็ว และมีการตอบกลับ เพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกัน ทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพมากสูงสุด

                  - อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนลองออกแบบสารรักถึงท่านผู้ปกครองของแต่ละคน


โดยอาจารย์มีตัวอย่างให้นักศึกษาดู   ดังภาพ 


คำถามท้ายบท
1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ 
ข่าวสารประจำสัปดาห์
         เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน 
- ตัวอย่างเช่น สารรักถึงท่านผู้ปกครอง
จดหมายข่าวและกิจกรรม
         เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ 
- ตัวอย่างเช่น กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
         จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
- ตัวอย่างเช่น ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
การสนทนา
        การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น
- ตัวอย่างเช่น การประชุมผู้ปกครอง
2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ 
มุมผู้ปกครอง     
             เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู
ห้องสมุดผู้ปกครอง    
           เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การจัดการศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและส่งผลต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
นิทรรศการ
         เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดี

3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย
ตอบ  - อธิบายถึงความสำคัญในการที่ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรม
ดังนี้
        การที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กนั้น เรียกได้ว่าผู้ปกครองเป็น "หุ้นส่วน"ของโรงเรียนในการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กสู่คุณภาพสูงสุด มีงานวิจัยมากมายที่บ่งบอกถึงประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองอย่างจริงจัง อย่างเช่นงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Rochester ใน New York และมหาวิทยาลัย Notre Dame ในเมือง Notre Dame พบว่าความสัมพันธ์ และความอบอุ่นใน ครอบครัวมีผลกับพฤติกรรมของเด็กๆ ตอนอยู่ที่โรงเรียน โดยทีมวิจัยได้สำรวจความสัมพันธ์ของครอบครัวที่มีลุกอยู่ในวัยเรียนทั้งหมด234 ครอบครัว สามารถแบ่งครอบครัวได้ 3 ประเภท คือครอบครัวที่อบอุ่น ครอบครัวที่ไม่อบอุ่น และครอบครัวอบอุ่นปานกลาง พบว่าเด็กๆ ที่อยู่ในครอบครัวไม่อบอุ่นจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว และมีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้ยาก ที่สุดก็จะพัฒนาไปเป็นอาการกังวล และซึมเศร้า 

         นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกมากที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและผลดีต่อตัวเด็ก ด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ปรากฏว่ามีผลต่อพัฒนาการและความสำเร็จด้านการศึกษาของนักเรียนอย่างเด่นชัด อีกทั้งยังช่วยผลักดันให้โรงเรียนดำเนินงานจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้นอีกด้วย รัฐบาลหลายประเทศ รวมถึง สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้สถานศึกษาทุกระดับ ส่งเสริม และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กอย่างจริงจังจนเรียกได้ว่า ผู้ปกครอง "เป็นหุ้นส่วน" ของสถานศึกษา ในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียน 

         สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ปกครองและครูหรือผู้เลี้ยงดูเด็กจะนำไปสู่ ความไว้วางใจที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เต็มใจในการทำกิจกรรมร่วมกัน การอบรมเลี้ยงดูเด็กในทิศทางเดียวกัน มีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาเด็ก รู้ว่า "เด็กน่ารัก" เป็นอย่างไรเมื่ออยู่ที่บ้าน "ลูกรัก" เป็นอย่างไรเมื่ออยู่ที่โรงเรียน ทำให้เด็กมีความสุข มีความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่สับสน ผลพลอยได้จากการพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์แก่เด็ก คือ การพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ แก่ผู้ปกครองโดยทางอ้อม 

         สุดท้าย ครอบครัวก็คือรากฐานที่สำคัญสำหรับเด็กๆ อยู่วันยังค่ำ หมั่นเติมความรัก ความเข้าใจในครอบครัวและร่วมมือกับโรงเรียนเพื่อพัฒนาลูกนะคะ

4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย 
ตอบ  การพัฒนาเด็กปฐมวัย อายุ 5ปีแรกของชีวิตนั้น เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานร่วมกับผู้ปกครอง ให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็ก และกระตุ้นให้มีการร่วมมือร่วมใจกัน ในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กของชุมชนไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งจุดมุ่หมายของการศึกษาในวัยนี้ ระบุไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 ว่า "เป็นการพัฒนาเด็กบนพื้นฐาน การอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก ภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทรและความเข้าใจของทุกคน ซึ่งจะเป็นการทำงานในลักษณะของการร่วมมือกันรับผิดชอบ หรือถือเป็นหุ้นส่วนที่จะต้องช่วยพัฒนาเด็กให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน" 

5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ  การประชุม
      เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย จุดประสงค์ของการจัดประชุมผู้ปกครองมีดังนี้
    - เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
    - แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
    - แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน
    - ประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
    - สร้างความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับครู
    - พัฒนาความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การจัดการศึกษา ฯลฯ
เพราะ การประชุมนั้นผู้ปกครองสามารถถามคำถามหรือมีปฏิสัมพันธ์กับทางโรงเรียนได้


ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง 

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 5  กันยายน พ.ศ.2559
เวลา 14.30 - 17.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                         - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ"
โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
โครงการ   แม่สอนลูก 
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
- ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้านอาศัยรูปแบบการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
- มารดามีความพอใจในกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
- เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก  
- ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
- เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
- เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียนแม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
- มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก
โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
                    ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน ซึ่งถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่ 
สรุป
                   จากโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น จะเห็นได้ว่าทุกประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ 

Lightning Talk   ตอน หนังสือเล่มแรก



คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ      แต่ละประเทศได้ดำเนินยุทธศาสตร์การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง โดยยึดหลักความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ - สถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
    - จัดบริการเสริมความรู้ ฝึกทักษะให้พ่อแม่ ครอบครัว คู่สมรสมีความเข้าใจในวิธีเลี้ยงดูเด็ก
    - ส่งเสริมให้องค์กรของรัฐ เอกชน ท้องถิ่นจัดฝึกอบรมให้แก่พ่อแม่ คู่สมรสใหม่และผู้ปกครอง
    - สนับสนุนโครงการต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
    - จัดให้มีวิธีการประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ 
 ตอบ 

1. เข้าใจพัฒนาการและความแตกต่างรายบุคคลของลูก

                  เด็กในวัยนี้มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองจะรู้และเข้าใจ สามารถส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสมเพราะการเจริญเติบโตในช่วงใดช่วงหนึ่งจะเป็นพื้นฐานของการเจริญเติบในช่วงต่อไป ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการชะงักงัน อีกทั้งเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน มีสไตล์ (style) ที่อาจแตกต่างกัน ผู้ปกครองต้องเข้าใจ บางครั้งอาจต้องมีความอดทนกับสไตล์ของลูก ต้องไม่นำลูกของตนไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน แต่ต้องเข้าใจ รู้ใจลูกและส่งเสริมพัฒนาการของลูกในวิถีทางที่ลูกชอบ 

     

2. ให้ความรัก/ความอบอุ่น :เด็กต้องการความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่

          เด็กทุกคนต้องการความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากเด็กมีกลไกด้านประสาทวิทยาและชีววิทยา มีโปรแกรมในสมองสามารถรับรู้อารมณ์ของผู้อื่นได้ และสื่อสารความรู้สึกความต้องการภายในได้ของตนได้ ความอบอุ่นที่เด็กได้รับจากครอบครัวจะเป็นกำลังใจ สนับสนุนให้ลูกกล้าคิด กล้าทำในสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ อีกทั้งความอบอุ่นนี้เป็นการสร้างสายใยของความผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูกให้เกิดความไว้วางใจ กล้าเล่าสิ่งต่างๆที่กังวล ที่เป็นปัญหา ทำให้ผู้ปกครองได้รับรู้ความจริง สามารถให้คำแนะนำเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมทั้งในปัจจุบันและในภายภาคหน้า 
   

3. การอบรมสั่งสอน: การอบรมเลี้ยงดูกับบุคลิกภาพของลูก

         พฤติกรรมการเลียนแบบทางกาย วาจานั้นปรากฏชัดเจนมาก ทั้งการแต่งกาย ท่าทาง กิริยามารยาทของพ่อแม่ย่อมถ่ายทอดไปสู่ลูก การใช้ภาษาพูดและภาษาท่าทางนั้น เด็กสามารถเลียนแบบพ่อแม่ได้อย่างไม่มีผิดเพี้ยน หล่อหลอมเป็นบุคคลิกภาพของลูก ผู้ปกครองสามารถทำกิจกรรมการสั่งสอนนี้ได้อย่างเป็นธรรมชาติที่บ้าน การเรียนรู้ในชีวิตประจำวันของเด็กและครอบครัวทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อการเรียนรู้ที่สถานศึกษาและบ้านสอดคล้อง สนับสนุนซึ่งกันและกัน อีกทั้งผู้ปกครองยังสามารถจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยอาจจะเริ่มจากการหาสถานที่ประจำซึ่งเงียบสงบให้เด็กทำการบ้าน จัดสถานที่ในการจัดแสดงผลงานต่างๆ ของเด็ก จัดสื่อ เกม หนังสือที่เหมาะกับการพัฒนาบุคคลิกภาพของเด็กในวัยนี้ ให้โอกาสเด็กได้ฝึกช่วยเหลือตนเอง ฝึกทักษะ และมีส่วนร่วมช่วยรับผิดชอบงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ตามวัยอย่างสม่ำเสมอ เป็นการฝึกความมีวินัยให้กับเด็กอีกด้วย เรียกได้ว่า วินัยเริ่มที่บ้านและเป็นวินัยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นช่วยเก็บของเล่นเมื่อเลิกเล่น เก็บของเล่นเป็นที่ รับประทานอาหารเป็นที่เป็นต้น 
     

4. การอบรมเลี้ยงดูกับจริยธรรมของเด็ก

          การอบรมเด็กเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางจริยธรรมนั้นต้องใช้เหตุผลที่เหมาะกับระดับพัฒนาการทางการรู้ของเด็ก การใช้เหตุผลที่ไม่สูงเกินระดับพัฒนาการทางการรู้ของเด็กมากนักจะมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็ก การเลี้ยงดูโดยการใช้เหตุผลจะทำให้เด็กเป็นเด็กดี ไม่ก้าวร้าว รู้จักรับผิดชอบชั่วดี มีพัฒนาการทางความรู้สึกละอายผิด รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตา กรุณาแก่สัตว์เลี้ยงและผู้อื่น 
        

5. การเสริมแรง จูงใจ และให้รางวัล สร้างความมั่นใจให้ลูก

         เราพูดกันอยู่เสมอว่า คำชมนั้นไม่ต้องซื้อหา หากแต่คำชมต้องเป็นรูปธรรม บอกกล่าวว่าลูกทำอะไรดีจึงได้รับคำชม การชมนี้เป็นการแนะแนวทางให้แก่ลูกว่า สิ่งที่ทำนั้นถูกต้องและต้องทำอีกถ้าหากว่าลูกต้องการคำชม และเมื่อทำบ่อยๆพฤติกรรมนั้นก็จะกลายเป็นนิสัย เป็นบุคคลิกของเด็ก สำหรับรางวัลนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเสมอไป ในระยะแรกอาจใช้สิ่งของเพื่อช่วยให้เด็กเห็นชัดเจน แต่ต้อมาผู้ปกครองต้องค่อยๆลดสิ่งของลง คงเหลือไว้เพียงคำพูด ยิ้ม พยักหน้า ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ลูกยึดติดกับสิ่งของหรือกลายเป็นว่าจะทำดีต่อเมื่อมีสิ่งของ หากแต่การทำดีนั้น

         4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร  จงอธิบาย
          ตอบ  ส่งผลต่อพฤติกรรมเด็ก  เพราะ ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยในทุกๆด้าน เพราะเด็กใช้เวลาอยู่ในสถานศึกษาเพียงหนึ่งในสามของเวลาที่เด็กอยู่กับครอบครัว ดังนั้น ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด จะต้องสร้างให้เด็กเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุข เด็กจะเจริญเติบโตได้มากน้อยเพียงใด อยู่ที่บทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครอง

        5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
        ตอบ - จัดการประชุมผู้ปกครองเพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้ร่วมพูดคุย สนทนา และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
               - จัดให้มีผู้ปกครองเครือข่ายเพื่อการติดต่อสื่อสาร เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกันเอง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และร่วมกันจัดหรือทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อพัฒนาเด็ก

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง 

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2559
เวลา 14.30 - 17.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                         - อาจารย์มีเกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสารมาให้นักศึกษาเล่นร่วมกัน ดังนี้
1.เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร"เกมสื่อความหมาย" ตัวแทนนักศึกษา 5 คนออกไปแสดงท่าทาง
ส่งต่อกันเมื่อส่งครบแล้วให้นักศึกษาคนสุดท้ายทายว่าคือท่าอะไร

ท่าทางกิจวัตรประจำวันในตอนเช้า

ท่าทางการทำส้มตำ

2.เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร"เกมพรายกระซิบ"ตัวแทนนักศึกษา 5 คนออกไปส่งคำพูดปริศนา
ส่งต่อกันเมื่อส่งครบแล้วให้นักศึกษาคนสุดท้ายพูดประโยคนั้นออกมาให้เพื่อนๆฟัง



3.เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร"เกมทายคำ" ตัวแทนนักศึกษา 3 คน ออกไปใบ้และทายคำ
ตามคำใบ้ที่ได้รับมา



4.เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร"เกมใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใคร"
โดยมีตัวแทนนักศึกษา 6 คนออกไปเขียนแต่ละหัวข้อ หัวข้อละ 5 ครั้ง จากนั้นอ่านของคนแรก
ไปจนถึงคนสุดท้ายจะได้เหตุการณ์ทั้งหมด 5 ประโยค


                    - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย"
ความหมายของการสื่อสาร
                 การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 
สื่อ   ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ
สาร   คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง ข้อแนะนำ การล้อเลียน ความปรารถนาดี ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม
พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
1.ความพร้อม  คือสภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ โดยเตรียมความพร้อมในเรื่องดังนี้ พื้นฐานประสบการณ์เดิม สร้างความสนใจเห็นเห็นถึงความสำคัญของความรู้ ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการเรียนรู้
2. ความต้องการ คือความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เช่น ต้องการให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง มีการศึกษาที่ดี
3. อารมณ์และการปรับตัว คือ  แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2 ประเภทคือ  อารมณ์ทางบวก เช่น ดีใจ พอใจ ฯลฯ อารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ หงุดหงิด  ซึ่งอารมณ์ทั้ง 2 นี้มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้นควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
4. การจูงใจ หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้  เช่น ต้องการรู้เพื่อแก้ปัญหาลูกหลาน ต้องการรู้เพื่อพัฒนาลูก ต้องการรู้เพื่อให้ลูกเป็นคนดี
5. การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล ฯลฯ
6. ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น 
7. ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป  การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน
คำถามท้ายบท
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ   - การสื่อสาร คือ กระบวน การส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
         - ความสำคัญของการสื่อสาร คือ ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย , ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น , ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
   ตอบ   - เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึงการสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้งหรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
            - เพื่อสร้างความพอใจ หมายถึงการสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร และมีกลวิธีในการนำเสนอเป็นที่พอใจ
    3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด 
    จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
  ตอบ   
รูปแบบของการสื่อสารข้อมูล จำแนกได้ 2 แบบ

  1. การสื่อสารแบบทางเดียว (One-way Communication)
  2. การสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication)
            การสื่อสารทางเดียว หมายถึง การสื่อสารที่ผู้รับไม่สามารถโต้ตอบกับผู้ส่งในสื่อกลางเดียวกันได้ ผู้ส่งเป็นฝ่ายส่งข่าวสารเพียงอย่างเดียว ส่วน ใหญ่มักอยู่ในรูปของสื่อสารสาธารณะ เช่น วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ หรือบอร์ด ประกาศ เป็นต้น การสื่อสารรูปแบบนี้เรียกว่า Simplex
            การสื่อสารสองทาง หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับข่าวสาร สามารถโต้ตอบกันได้ในสื่อกลางเดียวกัน การสื่อสารรูปแบบนี้ เรียกกว่า Duplex การสื่อสารแบบสองทางนี้ จำแนกตามลักษณะกรรับ/ส่ง
4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ   เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
•เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
•มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
•เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
•เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
•ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
•เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ   ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง   
1.ความพร้อม  คือสภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ โดยเตรียมความพร้อมในเรื่องดังนี้ พื้นฐานประสบการณ์เดิม สร้างความสนใจเห็นเห็นถึงความสำคัญของความรู้ ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการเรียนรู้
2. ความต้องการ คือความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เช่น ต้องการให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง มีการศึกษาที่ดี
3. อารมณ์และการปรับตัว คือ  แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี ประเภทคือ  อารมณ์ทางบวก เช่น ดีใจ พอใจ ฯลฯ อารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ หงุดหงิด  ซึ่งอารมณ์ทั้ง นี้มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้นควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
4. การจูงใจ หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้  เช่น ต้องการรู้เพื่อแก้ปัญหาลูกหลาน ต้องการรู้เพื่อพัฒนาลูก ต้องการรู้เพื่อให้ลูกเป็นคนดี
5. การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล ฯลฯ
6ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น 
7. ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง