วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 5  กันยายน พ.ศ.2559
เวลา 14.30 - 17.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                         - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ"
โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
โครงการ   แม่สอนลูก 
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
- ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้านอาศัยรูปแบบการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
- มารดามีความพอใจในกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
- เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก  
- ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
- เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
- เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียนแม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
- มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก
โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
                    ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน ซึ่งถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่ 
สรุป
                   จากโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น จะเห็นได้ว่าทุกประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ 

Lightning Talk   ตอน หนังสือเล่มแรก



คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ      แต่ละประเทศได้ดำเนินยุทธศาสตร์การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง โดยยึดหลักความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ - สถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
    - จัดบริการเสริมความรู้ ฝึกทักษะให้พ่อแม่ ครอบครัว คู่สมรสมีความเข้าใจในวิธีเลี้ยงดูเด็ก
    - ส่งเสริมให้องค์กรของรัฐ เอกชน ท้องถิ่นจัดฝึกอบรมให้แก่พ่อแม่ คู่สมรสใหม่และผู้ปกครอง
    - สนับสนุนโครงการต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
    - จัดให้มีวิธีการประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ 
 ตอบ 

1. เข้าใจพัฒนาการและความแตกต่างรายบุคคลของลูก

                  เด็กในวัยนี้มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองจะรู้และเข้าใจ สามารถส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสมเพราะการเจริญเติบโตในช่วงใดช่วงหนึ่งจะเป็นพื้นฐานของการเจริญเติบในช่วงต่อไป ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการชะงักงัน อีกทั้งเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน มีสไตล์ (style) ที่อาจแตกต่างกัน ผู้ปกครองต้องเข้าใจ บางครั้งอาจต้องมีความอดทนกับสไตล์ของลูก ต้องไม่นำลูกของตนไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน แต่ต้องเข้าใจ รู้ใจลูกและส่งเสริมพัฒนาการของลูกในวิถีทางที่ลูกชอบ 

     

2. ให้ความรัก/ความอบอุ่น :เด็กต้องการความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่

          เด็กทุกคนต้องการความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากเด็กมีกลไกด้านประสาทวิทยาและชีววิทยา มีโปรแกรมในสมองสามารถรับรู้อารมณ์ของผู้อื่นได้ และสื่อสารความรู้สึกความต้องการภายในได้ของตนได้ ความอบอุ่นที่เด็กได้รับจากครอบครัวจะเป็นกำลังใจ สนับสนุนให้ลูกกล้าคิด กล้าทำในสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ อีกทั้งความอบอุ่นนี้เป็นการสร้างสายใยของความผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูกให้เกิดความไว้วางใจ กล้าเล่าสิ่งต่างๆที่กังวล ที่เป็นปัญหา ทำให้ผู้ปกครองได้รับรู้ความจริง สามารถให้คำแนะนำเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมทั้งในปัจจุบันและในภายภาคหน้า 
   

3. การอบรมสั่งสอน: การอบรมเลี้ยงดูกับบุคลิกภาพของลูก

         พฤติกรรมการเลียนแบบทางกาย วาจานั้นปรากฏชัดเจนมาก ทั้งการแต่งกาย ท่าทาง กิริยามารยาทของพ่อแม่ย่อมถ่ายทอดไปสู่ลูก การใช้ภาษาพูดและภาษาท่าทางนั้น เด็กสามารถเลียนแบบพ่อแม่ได้อย่างไม่มีผิดเพี้ยน หล่อหลอมเป็นบุคคลิกภาพของลูก ผู้ปกครองสามารถทำกิจกรรมการสั่งสอนนี้ได้อย่างเป็นธรรมชาติที่บ้าน การเรียนรู้ในชีวิตประจำวันของเด็กและครอบครัวทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อการเรียนรู้ที่สถานศึกษาและบ้านสอดคล้อง สนับสนุนซึ่งกันและกัน อีกทั้งผู้ปกครองยังสามารถจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยอาจจะเริ่มจากการหาสถานที่ประจำซึ่งเงียบสงบให้เด็กทำการบ้าน จัดสถานที่ในการจัดแสดงผลงานต่างๆ ของเด็ก จัดสื่อ เกม หนังสือที่เหมาะกับการพัฒนาบุคคลิกภาพของเด็กในวัยนี้ ให้โอกาสเด็กได้ฝึกช่วยเหลือตนเอง ฝึกทักษะ และมีส่วนร่วมช่วยรับผิดชอบงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ตามวัยอย่างสม่ำเสมอ เป็นการฝึกความมีวินัยให้กับเด็กอีกด้วย เรียกได้ว่า วินัยเริ่มที่บ้านและเป็นวินัยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นช่วยเก็บของเล่นเมื่อเลิกเล่น เก็บของเล่นเป็นที่ รับประทานอาหารเป็นที่เป็นต้น 
     

4. การอบรมเลี้ยงดูกับจริยธรรมของเด็ก

          การอบรมเด็กเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางจริยธรรมนั้นต้องใช้เหตุผลที่เหมาะกับระดับพัฒนาการทางการรู้ของเด็ก การใช้เหตุผลที่ไม่สูงเกินระดับพัฒนาการทางการรู้ของเด็กมากนักจะมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็ก การเลี้ยงดูโดยการใช้เหตุผลจะทำให้เด็กเป็นเด็กดี ไม่ก้าวร้าว รู้จักรับผิดชอบชั่วดี มีพัฒนาการทางความรู้สึกละอายผิด รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตา กรุณาแก่สัตว์เลี้ยงและผู้อื่น 
        

5. การเสริมแรง จูงใจ และให้รางวัล สร้างความมั่นใจให้ลูก

         เราพูดกันอยู่เสมอว่า คำชมนั้นไม่ต้องซื้อหา หากแต่คำชมต้องเป็นรูปธรรม บอกกล่าวว่าลูกทำอะไรดีจึงได้รับคำชม การชมนี้เป็นการแนะแนวทางให้แก่ลูกว่า สิ่งที่ทำนั้นถูกต้องและต้องทำอีกถ้าหากว่าลูกต้องการคำชม และเมื่อทำบ่อยๆพฤติกรรมนั้นก็จะกลายเป็นนิสัย เป็นบุคคลิกของเด็ก สำหรับรางวัลนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเสมอไป ในระยะแรกอาจใช้สิ่งของเพื่อช่วยให้เด็กเห็นชัดเจน แต่ต้อมาผู้ปกครองต้องค่อยๆลดสิ่งของลง คงเหลือไว้เพียงคำพูด ยิ้ม พยักหน้า ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ลูกยึดติดกับสิ่งของหรือกลายเป็นว่าจะทำดีต่อเมื่อมีสิ่งของ หากแต่การทำดีนั้น

         4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร  จงอธิบาย
          ตอบ  ส่งผลต่อพฤติกรรมเด็ก  เพราะ ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยในทุกๆด้าน เพราะเด็กใช้เวลาอยู่ในสถานศึกษาเพียงหนึ่งในสามของเวลาที่เด็กอยู่กับครอบครัว ดังนั้น ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด จะต้องสร้างให้เด็กเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุข เด็กจะเจริญเติบโตได้มากน้อยเพียงใด อยู่ที่บทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครอง

        5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
        ตอบ - จัดการประชุมผู้ปกครองเพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้ร่วมพูดคุย สนทนา และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
               - จัดให้มีผู้ปกครองเครือข่ายเพื่อการติดต่อสื่อสาร เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกันเอง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และร่วมกันจัดหรือทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อพัฒนาเด็ก

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น